วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 9

ผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีการบริหารและการจัดการตามแนวการบริหารที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-based Management) คือ บริหารงานอย่างมีอิสระเพื่อให้เกิดความคล่องตัวต่อการบริหารวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ และการบริหารงานทั่วไป โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมงานด้านวิชาการเป็นหลักสำคัญ อันจะก่อให้เกิดความสำเร็จในการปฏิรูปการเรียนรู้และการปฏิรูปการศึกษาโดยรวม
บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ประกอบด้วยเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. การเป็นผู้นำทางวิชาการ
2. การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม
3. การเป็นผู้อำนวยความสะดวก
4. การประสานความสัมพันธ์
5. การส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากร
6. การสร้างแรงจูงใจ
7. การประเมินผล
8. การส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา
9. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
10. การส่งเสริมเทคโนโลยี

ใบงานที่ 8

1. ความหมายของสถิติ
สถิติ (Statistics) หมายถึง สารสนเทศที่เป็นวิทยาศาสตร์โดยมีการดำเนินการ 4 ขั้นตอนได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล(Collection of Data) การนำเสนอข้อมูล(Presentation of Data ) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data) และการตีความหมายของข้อมูล (Interpretation of Data)
สถิติแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สถิติพรรณนา/บรรยายและสถิติอ้างอิง

2. ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีความหมายว่าอย่างไร และแต่ละค่าเป็นสถิติประเภทใด

ค่าเฉลี่ย หมายถึง ผลบวกของค่าสังเกตหรือค่าของตัวอย่างที่ได้จากการสำรวจทุกค่าของข้อมูล แล้วหารด้วยจำนวนตัวอย่างของข้อมูล ค่าเฉลี่ยจัดเป็นสถิติพรรณนา

ค่ามัธยฐาน (Median) หมายถึง ค่าของข้อมูลที่จุดกึ่งกลางของการกระจายของข้อมูลโดย 50% ของข้อมูลมี ค่าสูงกว่าค่า มัธยฐาน และอีก 50% มีค่าต่ำกว่าค่ามัธยฐาน และมักใช้ในกรณีที่ การกระจายของข้อมูลมีลักษณะไม่เท่ากันทั้งสองข้าง (Asymmetry) หรือมีลักษณะเบ้ไปทางซ้ายหรือทางขวาเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย

ค่าฐานนิยม (Mode) หมายถึง ค่าของข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุดในข้อมูลของชุดนั้นๆ ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งค่าหรือไม่มีเลยก็ได้ เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) หมายถึง ค่าการกระจายของข้อมูลว่าจะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยมากน้อยเท่าใด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย

3.คำว่าประชากร และกลุ่มตัวอย่างเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ให้อธิบายยกตัวอย่างประกอบ

ประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มสมาชิกทั้งหมดที่ต้องการศึกษา อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ ใช้สัญลักษณ์ “N” แทนจำนวนประชากร

กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง กลุ่มสมาชิกที่ถูกเลือกมาจากประชากรด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษาและเก็บข้อมูล ใช้สัญลักษณ์ “n” แทนสมาชิกของกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างต่างกัน เพราะกลุ่มตัวอย่างเป็นเพียงสมาชิกส่วนหนึ่งของประชากรที่ถูกคัดเลือกมาใช้ในการศึกษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น เมื่อผู้วิจัยต้องการศึกษาสมรรถนะในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีจำนวนมากผู้วิจัยไม่สามารถศึกษาจากประชากรทั้งหมดได้จึ้งคัดเลือกผู้บริหารมาศึกษาเพียงบางส่วนโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น ตารางเลขสุ่ม หรืออื่นๆ ผลที่ได้จากการศึกษาจะอ้างอิงไปสู่ประชากรทั้งหมด

4. นามบัญญัติ ระดับอันดับที่ ระดับช่วง ระดับอัตราส่วน ท่านเข้าใจอย่างไร อธิบายสั้น ๆ

มาตรนามบัญญัติ (Nominal Scale)

-เป็นมาตรวัดที่หยาบที่สุด จัดข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆ แยกตามประเภทหรือชนิด

-สถิติ : ความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม หรือใช้สถิติแบบนอนพาราเมตริก

-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่ไม่มีขนาด ไม่มีความเท่ากันของช่วง และไม่มีศูนย์สมบูรณ์

มาตรเรียงลำดับ (Ordinal Scale)

-เป็นมาตรวัดที่ใช้กับข้อมูลที่สามารถจัดเรียงอันดับความสำคัญหรือสามารถเปรียบเทียบกันได้

-สถิติ : ฐานนิยม มัธยฐาน พิสัย เปอร์เซนต์ไทล์ และสถิติแบบนอนพาราเมตริก

-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีการจัดลำดับข้อมูลจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมากได้ แต่ไม่ได้บอก

ถึงปริมาณแต่ละอันดับว่ามากน้อยเท่าใด ไม่มีความเท่ากันของช่วงคะแนน และไม่มีศูนย์สมบูรณ์

มาตรอันตรภาค (Interval Scale)

-เป็นมาตรวัดที่สามารถบอกได้ทั้งทิศทางและขนาดของ ความแตกต่างของข้อมูล มาตรวัดนี้ไม่มีศูนย์ที่แท้จริง (absolute zero)

-สถิติ : ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่สามารถบอกระยะห่างของตัวเลข 2 ตัว ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเท่าใด มีเกณฑ์อยู่กับสิ่งที่เรียกว่าศูนย์สมมติ

มาตรอัตราส่วน (Ratio Scale)

-เป็นมาตรวัดที่มีลักษณะสมบูรณ์ทุกอย่าง ดีกว่ามาตรวัดอันตรภาคตรงที่มาตรการวัดนี้มีศูนย์

ที่แท้จริง

-สถิติ : สถิติที่ใช้กับการวัดในระดับนี้ใช้ได้ทุกวิธีที่มีอยู่

-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีระดับการวัดเหมือนมาตราอันตรภาค และมีศูนย์สมบูรณ์ ข้อมูลที่

เป็นอัตราส่วนสามารถนำมาบวก ลบ คูณ หาร ได้ และสามารถใช้ได้กับสถิติทุกประเภท

5. ตัวแปรคืออะไร ตัวแปรต้นคืออะไร ตัวแปรตามคืออะไร

ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่เปลี่ยนค่าไปได้หลายค่า เป็นลักษณะคุณภาพ คุณสมบัติของบุคคล สิ่งของ หรือสิ่งที่สนใจจะนำมาศึกษาที่สามารถนับได้ วัดได้ หรือหมายถึง สิ่งที่แปรเปลี่ยนไปตามระยะเวลา แปรเปลี่ยนได้หลายค่า หรือมากกว่า 1 ลักษณะ เช่นเชื้อชาติ แปรค่าได้เป็น ไทย , จีน ,

ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (independent variable) เป็นตัวแปรเหตุที่ทำให้ผลตามมา หรือทำให้สิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะ หรือ แปรสภาพไป ตัวแปรต้นจะมีลักษณะดังนี้

- เป็นตัวแปรเหตุ

- เป็นตัวแปรที่มาก่อน

- เป็นตัวแปรที่จัดกระทำในการทดลอง

- มีลักษณะเป็นตัวทำนาย

- เป็นตัวกระตุ้น

- มีความคงทน ถาวร

ตัวแปรตาม (dependent variable) เป็นตัวแปรที่มีผลมาจากตัวแปรต้น ซึ่งตัวแปรตามจะมีลักษณะ ดังนี้

- เป็นตัวแปรที่เป็นผล

- เกิดขึ้นภายหลัง

- เกิดขึ้นเองไม่สามารถจัดกระทำได้ในการทดลอง

- เป็นตัวถูกทำนาย

- เป็นตัวตอบสนอง

- เปลี่ยนแปลงได้ง่าย

6. สมมติฐาน คืออะไร สมมติฐานการวิจัยมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

สมมติฐาน คือ การคาดการณ์ผลการวิจัยไว้ล่วงหน้าโดยมีทฤษฎีหรือข้อค้นพบจากผลงานวิจัยที่ผ่านมามารองรับ เป็นคำตอบที่คาดการณ์ไว้ก่อนที่จะดำเนินการวิจัยจริง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

- สมมติฐานการวิจัย เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้นมักจะเขียนในเชิงความเรียงธรรม

- สมมติฐานทางสถิติ เป็นการนำข้อความจากสมมติฐานการวิจัยมาเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ทางสถิติ

7. T-test, F-test เหมือนหรือต่างอย่างไร

T-test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้

F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป

T-test และ F – test เหมือนกัน คือเป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย

T-test และ F – test ต่างกัน คือ F – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป

ใบงานที่ 7

การใส่ ตกแต่งบล๊อก ด้วยปฏิทิน นาฬิกา สไลด์รูปต่างๆ เปลี่ยนสีในรูปแบบ และเพลงนั้น จำเป็นจะต้องใช้โค้ด(ภาษา HTML) ซึ่งเป็นโค้ดที่ต้องเพิ่มใน Gadget ซึ่งเมนูการเพิ่มจะอยู่ที่
แผงควบคุม ---> รูปแบบ ---> เพิ่ม Gadget ---> เพิ่มจาวา/HTML ---> วางโค้ดของปฎิทิน/นาฬิกา/เพลงที่เราได้คัดลอกมาจากโค้ดที่เราค้นหาโดยใช้ Google ---> แล้วสั่งบันทึก ซึ่งจะกลับมาที่หน้ารูปแบบ--->สั่งบันทึกอีกครั้ง--->จะขึ้นข้อความว่าได้"ได้บันทึกการเปลี่ยนแปลงแล้ว ดูบล๊อก" ---> ซึ่งสามารถดูบล๊อกได้ว่าเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่
สำหรับการค้นหาโค้ด โดยใช้ Google นั้น เมื่อเข้าเว็บ Google แล้วใช้คำค้นหา เช่น โค้ดเพลง/โค้ดปฏิทินแต่งบล๊อก/โค้ดนาฬิกา / โค้ดแต่งบล๊อก /หรือระบุเพลงที่ต้องการ เช่น โค้ดเพลงอวยพรวันเกิด/โค้ดเพลงร๊อก/โค้ดเพลง(ชื่อเพลง)
เมื่อได้หน้าเว็บGoogle ที่ขึ้นผลการค้นหาแล้ว เลือกเปิดลิงค์ต่าง ๆ ก็จะได้หน้าเว็บเช่น
บางเว็บอาจต้องดาวน์โหลดโค้ด บางเว็บก็ copy โค้ดได้เลย
เมื่อได้โค้ดแล้ว select code แล้วนำไปวางใน Gadget ที่ได้สั่งเพิ่ม HTML/จาวาสคริปต์

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 6




เว็บไซต์ Google (www.Google.co.th เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลในโลกของอินเทอร์เน็ต โดยค้นหาข้อมูลจากข้อความ หรือตัวอักษรที่พิมพ์เข้าไป แล้วทำการค้นหาข้อมูล รูปภาพ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวข้องนำมาแสดงผล เว็บไซต์ Google ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ต้องการค้นหาข้อมูล
เว็บไซต์ Google แบ่งหมวดหมู่ของการค้นหาออกเป็น 4 หมวดหมู่ด้วยกัน ดังนี้คือ

เว็บ (Web) เป็นการค้นหาข้อมูลในรูปแบบของเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลก โดยการแสดงผล
จะแสดงเว็บไซต์ที่มีคำที่เป็น Keyword อยู่ภายเว็บไซต์นั้น
รูปภาพ (Images) เป็นการค้นหารูปภาพจากการแปลคำ Keyword

กลุ่มข่าว (News) เป็นการค้นหาข้อมูลที่เป็นเนื้อหาที่อยู่ในข่าว ซึ่งมีการระบุชื่อผู้เขียนข่าว,
หัวข้อข่าว, วันที่และเวลาที่โพสต์ข่าว

สารบบเว็บ (Web Directory) Google มีการจัดประเภทของเว็บไซต์ออกเป็นหมวดหมู่ ซึ่งเราสามารถค้นหาเว็บในเรื่องที่ต้อง การตามหมวดหมู่ที่มีอยู่แล้วได้เลย



วิธีการใช้งาน Google ค้นหาข้อมูลแบบติดจรวด


การค้นหาโดยทั่วไปส่วนใหญ่แล้วจะใช้คำ Keyword เป็นเครื่องมือในการนำทางการค้นหาอย่างเดียว แต่ถ้าเรารู้จักใช้เครื่องหมายบางตัวร่วมด้วย ก็จะทำให้ขอบเขตการค้นหาของ Google แคบลง ทำให้เราได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการมากขึ้น เครื่องหมายที่สามารถนำมาช่วยในการค้นหาได้ มีดังนี้
การค้นหาด้วยเครื่องหมายบวก (+) เหมาะสำหรับการค้นหาคำ Keyword ที่มีลักษณะเป็นตัวเชื่อม เพราะโดยหลักการทำงานของ Google แล้ว Google จะไม่ค้นหาคำประเภทตัวเชื่อม เช่น at, with, on, what, when, where, how, the, to, of ถึงแม้ว่าเราจะมีการระบุเหล่านี้ลงใน Keyword ด้วยก็ตาม
ดังนั้นถ้าเราต้องการให้ Google ทำการค้นหาคำเหล่านี้ด้วย เนื่องจากเป็นคำสำคัญของประโยคที่เราต้องการ สามารถใช้เครื่องหมาย + ช่วยได้ โดยมีเงื่อนไข ว่า ก่อนหน้าเครื่องหมาย + ต้องมีการเว้นวรรค 1 เคาะด้วย เช่น ถ้าต้องการค้นหาเว็บไซต์เกี่ยวกับเกมส์ที่มีชื่อว่า Age of Empire ถ้าเราพิมพ์ Keyword ...Age of Empire… Google จะทำการค้นหาแยกคำโดยไม่สนใจ of คืออาจจะค้นหา Age หรือ Empire แค่ตัวเดียว แต่ถ้าเราระบุว่า Age +of Empire Google จะทำการค้นหาทั้งคำว่า Age, of และ Empire เป็นต้น

การค้นหาด้วยเครื่องหมายลบ ( - ) จะช่วยให้เราสามารถตัดเรื่องที่เราไม่ต้องการ หรือไม่เกี่ยวข้องออกไปได้ เช่น ถ้าเราต้องการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการล่องแก่ง แต่ไม่ต้องการ การล่องแก่งที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดตาก ให้เราพิมพ์ Keyword ว่า ล่องแก่ง -ตาก (เช่นเดียวกับเครื่องหมาย + ต้องเว้นวรรคก่อนหน้าเครื่องหมายด้วย) Google จะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการล่องแก่ง แต่ไม่มีจังหวัดตากเข้ามาเกี่ยวข้อง

การค้นหาด้วยเครื่องหมายคำพูด ("...") เหมาะสำหรับการค้นหาคำ Keyword ที่มีลักษณะเป็นประโยควลี ที่เราต้องการให้มันแสดงผลทุกคำในประโยค โดยไม่แยกคำ เช่น ถ้าเราต้องการหาเว็บไซต์เกี่ยวกับเพลงที่มีชื่อว่า If I Let You Go ให้พิมพ์ว่า "If I Let You Go" Google จะทำการค้นหาประโยค "If I Let You Go" ทั้งประโยคโดยไม่แยกคำค้นหา

การค้นหาด้วยคำว่า OR เป็นการสั่งให้ Google ค้นหาข้อมูลเพิ่มมากขึ้น เช่น ถ้าเราต้องการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการล่องแก่ง ทั้งในจังหวัดตาก และปราจีนบุรี ให้เราพิมพ์ Keyword ว่า ล่องแก่ง ตาก OR ปราจีนบุรี Google จะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการล่องแก่งทั้งในจังหวัดตาก และกาญจนบุรี


รายละเอียดเพิ่มเติม ของ Google

1. Google จะใช้ and (และ) อยู่ในประโยคเสมอ เช่น ค้นหา harvest moon back to nature Google จะค้นหาแบบ harvest AND moon AND back... (พูดง่ายๆคือค้นหาแบบแยกคำ)
2. การใช้ OR (หรือ) คือการให้ Google หาข้อมูลมากขึ้นจาก คำA และ คำB (พูดง่ายๆ คือนำผลที่ได้ มารวมกันรวมกัน) วิธีใช้ พิมพ์ OR ด้วยตัวใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london OR paris คือหาทั้งใน London และ Paris
3. Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the, to, of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำพวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่หน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น back +to nature หรือ final fantasy +x
4. Google สามารถกันขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงด้วยการใช้ Advanced Search หรือ การค้นหา แบบพิเศษ ใน Google ภาษาไทย
5. Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น "front mission 3" -filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF
6. การค้นหาแบบทั้งวลี (คือการค้นหาทั้งกลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย " " เช่น "Breath of fire IV"
7. Google สามารถแปลเว็บภาษา Italian, French, Spanish, German, และ Portuguese เป็น ภาษาอังกฤษได้ (โดยคลิ้กที่คำว่า "Translate this page" ด้านข้างชื่อเว็บ)
8. Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ ประเภทไฟล์ที่รองรับคือ
• Adobe Portable Document Format (นามสกุลของไฟล์ pdf)
• Adobe PostScript (นามสกุลของไฟล์ ps)
• Lotus 1-2-3 (นามสกุลของไฟล์ wk1, wk2, wk3, wk4, wk5, wki, wks, wku)
• Lotus WordPro (นามสกุลของไฟล์ lwp)
• MacWrite (นามสกุลของไฟล์ mw)
• Microsoft Excel (นามสกุลของไฟล์ xls)
• Microsoft PowerPoint (นามสกุลของไฟล์ ppt)
• Microsoft Word (นามสกุลของไฟล์ doc)
• Microsoft Works (นามสกุลของไฟล์ wks, wps, wdb)
• Microsoft Write (นามสกุลของไฟล์ wri)
• Rich Text Format (นามสกุลของไฟล์ rtf)
• Text (นามสกุลของไฟล์ ans หรือ txt)
วิธีใช้ filetype: นามสกุลของไฟล์ เช่น "Chrono Cross" filetype:pdf หมายความว่าเอกสารของ Chrono Cross ที่เป็น PDF และมันยังมีความสามารถดูไฟล์เหล่านั้นในรูปแบบของ HTML ได้ (โดยคลิ้ก View as HTML หรือ รูปแบบ HTML ใน Google ไทย)

9. Google สามารถเก็บ Cached ของเว็บที่จะเข้าชมไว้ได้ (โดยคลิ้กที่ Cached หรือ ถูกเก็บไว้ ใน Google ภาษาไทย) ประโยชน์ของมันคือช่วยให้เราสามารถเข้าเว็บบางเว็บที่อาจโดนลบไปแล้ว โดยข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลก่อนถูกลบ (ใหม่สุดที่มันจะมีได้)

10. Google สามารถค้นหาหน้าที่คล้ายกัน (โดยคลิ้ก Similar pages หรือ หน้าที่คล้ายกัน ใน Google ภาษาไทย) โดยจะค้นหาข้อมูลที่คล้ายๆ กันให้เรา เช่น ถ้าเรากำลังหาข้อมูลการวิจัย ความสามารถนี้จะช่วยให้หาข้อมูลได้มากมายในเวลาที่รวดเร็วโดยไม่ต้องเป็นห่วงเรื่อง keyword
11. Google สามารถค้นหา link ทั้งหมดที่เชื่อมไปยังเว็บนั้นได้ วิธีใช้ link:ชื่อ URL เช่น link:www.google.com แต่คุณไม่สามารถใช้ความสามารถนี้ร่วมกับการหาแบบอื่นๆ ได้
12. Google สามารถค้นหาเว็บที่จำเพาะเจาะจงได้ โดยพิมพ์ คำที่คุณต้องการเจาะจง site:ชื่อ URL เช่น ถ้าคุณต้องการหาเว็บเกี่ยวกับการเข้า (admission) มหาวิทยาลัย Stanford ให้พิมพ์ admission site:www.stanford.edu
13. ถ้าคุณมีเวลาน้อย (และคิดว่าโชคดี) Google มีบริการการค้นหาด่วน (ชื่อบริการ I'm Feeling Lucky) โดยที่ Google จะนำเว็บที่อยู่ลำดับแรกของการค้นหา ส่งให้คุณเลย (link ไปเว็บนั้นให้เสร็จ) เช่น คุณต้องการค้นหาเว็บมหาวิทยาลัย Stanford อย่างด่วนให้พิมพ์ Stanford แล้วกด I'm Feeling Lucky หรือ ใช่เลย! เจอแน่ๆ ใน Google ไทย
14. Google สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐ เช่น 165 University Ave Palo Alto CA Google จะจัดการส่งแผนที่คุณภาพสูงมาให้คุณ
15. Google สามารถหาเบอร์โทร (เฉพาะอเมริกา) หรือพิมพ์เบอร์โทรแล้วหาบริษัทได้โดยพิมพ์
• first name (or first initial), last name, city (state is optional)
• first name (or first initial), last name, state
• first name (or first initial), last name, area code
• first name (or first initial), last name, zip code
• phone number, including area code
• last name, city, state
• last name, zip code
แล้วแต่ว่าคุณจะใช้แบบไหน
16.Google สามารถค้นหา Catalog สินค้าได้ (เข้าไปที่ http://catalogs.google.com)
17.Google สามารถเก็บข้อมูลลักษณะการใช้ที่คุณต้องการได้โดยเข้าไปที่ Preferences หรือ ตัวเลือก ใน Google ไทย


วิธีการใช้ Google ค้นหาแบบละเอียด

Search Engine เป็นเครื่องมือหรือโปรแกรมในการค้นหาเว็บต่างๆ โดยมีการเก็บ รายชื่อเว็บไซต์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ ของเว็บไซต์และนำมาจัดเก็บไว้ใน server เพื่อให้สามารถค้นหาและแสดงผลได้สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ บาง search engine อาจไม่ได้มีการเก็บข้อมูลใน server ของตัวเอง แต่อาจอาศัยข้อมูลจากเจ้าของ server นั้นๆ

ตัวอย่าง Search Engine ที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น sanook.com, siamguru.com, google.com, yahoo.com, msn.com, altavista.com, search.com เป็นต้น

สืบค้นจาก http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=20&post_id=5086

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานครั้งที่ 4




นายชัยชาญ สกุลชิต 5246701014

การจัดการความรู้ หมายถึง กระบวนการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรม และจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่ บุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยอาศัยช่องทางต่างๆ ที่องค์กรจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้ และในที่สุดความรู้ที่มีอยู่จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์กรอย่างสมดุล เป็นไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาองค์กร

สืบค้นจาก http://www.industry.go.th/km/Lists/KM/KM.aspx

กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ
1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
สืบค้นจาก http://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html

แหล่งข้อมูล คือ สถานที่ที่สามารถ ค้นคว้า สืบค้น เรียนรู้ ข้อมูลต่างๆแต่ละประเภทตามที่เราต้องการและอยู่ในรูปลักษณะที่ แตกต่างกันออกไป ตามที่แหล่งข้อมูลนั้นๆจะนำเสนออกมายิ่งในปัจจุบันจะมีรูปแบบในการนำเสนอ ที่หลากหลายมาก จนเราตามไม่ทันและมีข้อมูล
มากมายมหาศาล ให้เราได้เรียนรู้ สืบค้น ค้นคว้า มาใช้ในการเรียนและงานต่างๆ มากมาย
ตัวอย่างแหล่งข้อมูล ที่มีในปัจจุบัน
1. สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
2. ซีดี วีซีดี ดีวีดี วีดีโอ ภาพยนต์
3. สถานที่ต่างๆ ห้องสมุด โบราณสถาน สถานที่ท่องเที่ยว
4. เทคโนโลยีต่างๆ ทีวี วิทยุ ระบบอินเทอร์เน็ต ดาวเทียม

สืบค้นจาก http://www.ketkwanchai.info/ebook2/f6.htm

เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม

สืบค้นจาก http://www.trang.psu.ac.th/learning2teach/index.php?option=com_content&task=view&id=60&Itemid=34

สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่นำมาสรุปประมวลผล ดำเนินการทางสถิติ เปรียบเทียบหรือดำเนินการโดยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้รับได้เข้าใจความเป็นไปหรือสถานการณ์ของสิ่งที่มีสารสนเทศนั้นเป็นตัวแทน

สืบค้นจาก http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page13004.asp